วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2551

หลักสูตรใหม่ : ประเมินผลอย่างไร ?

หลักสูตรใหม่ : ประเมินผลอย่างไร ? ดร.บุญชู ชลัษเฐียร รอบปีการศึกษาใหม่เริ่มวงจรขึ้นในราวกลางเดือนพฤษภาคมของทุก ๆ ปี แต่ทว่าปีการศึกษา ๒๕๔๖ นี้ บรรยากาศของการเริ่มปีการศึกษาที่ผ่านๆ มา ความกระตือรือร้น ของสถานศึกษา ของครู ของบุคลากรทางการ ศึกษา ในการเตรียมงานทำงานเห็นได้อย่างชัดเจน รวมทั้งเห็นความสนใจใฝ่รู้ของผู้ปกครอง ของนักเรียนในสิ่ง ที่จะเรียนและ แนวทางการเรียน เช่นกัน เกิดอะไรขึ้นหรือ...........คำตอบคือปรากฏการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นเนื่องจาก ปีการศึกษา ๒๕๔๖ เป็นปีที่มีการกำหนดให้ใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔ หรือเรียก อย่างง่ายๆว่า "หลักสูตรใหม่" ในชั้นประถมศึกษาปีที่๑ ปีที่๔ และ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ปีที่ ๔ หลักสูตรใหม่ ดังกล่าวนี้ได้ก่อให้เกิดปัจจัย บริบท และกระบวนการในการจัดการเรียนรู้ที่มีรูปร่างหน้าตาผิดแผกแตกต่างไป จากกระบวนการจัดการหลักสูตรเดิม อาทิ หลักสูตรอิงมาตราฐาน หรือสถานศึกษาต้องพัฒนาหลักสูตร สถานศึกษาของตน เพื่อใช้ในการจัดการเรียนรู้ การประเมินผล ต้องเป็นไปตามมาตรฐานการเรียนรู้ เป็นต้น ประเด็นที่อยู่ในความสนใจของผู้ที่เกี่ยวข้องประการหนึ่งที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า หลักสูตรอิงมาตรฐาน เป็นอย่างไร จะพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาอย่างไร คือ จะวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ตามหลักสูตร การศึกษาขั้นพื้นฐานได้อย่างไร จะปฏิบัติอย่างไรจึงขอถือโอกาศนี้นำเสนอ และฉายภาพข้อมูล การวัด และ ประเมินผล การเรียน ตามหลักสูตรใหม่ดังต่อไปนี้ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานมัลักษณะเช่นไร การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรใหม่ ยึดหลักการกระจายอำนาจให้โรงเรียน/สถานศึกษา เช่น เดียวกับหลักสูตรเดิม แต่แตกต่างกันตรงที่ หลักสูตรใหม่สถานศึกษา จำต้องกำหนด ระเบียบ/แนว ปฏิบัติเพื่อการวัดและประเมินของตนเอง โดยอาศัย "หลักการ/ข้อกำหนดสำคัญบางประการ" ที่ส่วนกลางกำหนดให้ เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ แต่ทั้งนี้ไม่มีการออกระเบียบการวัดและ ประเมินผลโดยตรงไปจากส่วนกลาง (กระทรวงศึกษาธิการ) เพื่อให้โรงเรียน/สถานศึกษาใช้ มาตรฐาน การเรียนรู้ที่กำหนด ในหลักสูตร แต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้เป็นทั้งเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนและเป็นหลัก เทียบเคียงเพื่อการประเมิน ในส่วนนี้แหละที่เป็นความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนกับการประเมิน ตามหลักสูตร เดิม นอกจากนี้ การประเมินตามหลักสูตรใหม่ มุ่งเน้นการปรับปรุงพัฒนาผู้เรียนให้มีความก้าวหน้าในการเรียนรู้ เป็นประเด็นหลักและยังมุ่งให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพรวมทั้งยังกำหนดให้มีการเทียบโอนผลการเรียน ในระหว่างระบบการจัดการศึกษาต่างๆ (การศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ตามมาตรา ๑๕ แห่ง พระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ) เพื่อเปิดโอกาศทางการศึกษาให้แก่ผู้เรียน

ไม่มีความคิดเห็น: