วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

เงินซื้อความสุขไม่ได้ อยากมีสุขต้องค้นที่ใจ

คนจำนวนมากหลงเข้าใจผิดคิดว่า ยิ่งมีเงินมาก จะยิ่งมีความสุขมากขึ้น ทำให้เราพยายามทุ่มเททุกอย่างเพื่อหาเงิน... โดยลืมคิดไปว่าที่มาของความสุขที่แท้จริงนั้น เกิดจาก...
--------------------------------------------------------------------------------
ผลสำรวจในอเมริกาพบเงินซื้อความสุขไม่ได้ อยากมีสุขต้องค้นที่ใจ

อาจเป็นคำพูดที่เคยได้ยินกันมาแล้ว แต่วันนี้อยากจะ "ย้ำ" กันอีกครั้งว่า ขณะนี้มีผลการสำรวจศึกษาในอเมริกาพบว่า เป็นความจริงที่เงินซื้อความสุขไม่ได้ มิหนำซ้ำยิ่งหาได้มาก ยิ่งโหมกระพือให้มีความต้องการทางวัตถุมากตามไปด้วย แต่ความสุขนั้นหาได้ที่ "ใจ" ของเรานี่แหละ

ทั้งนี้ จากการศึกษาของ นายริชาร์ด อีสเตอร์ลิน อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยยูนิเวอร์ซิตี้ เซาเธิร์น แคลิฟอร์เนีย ในสหรัฐอเมริกา ที่ทำการสำรวจมาเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ปี 2518 เป็นต้นมา ในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างราว 1,500 คน ระบุไว้ในการสำรวจชื่อว่า เอ็กเพลนนิ่ง แฮปปี้เนสส์(Explaining Happiness) ว่าทรัพย์สินเงินทองที่มากขึ้น ไม่ได้ช่วยให้คนเรามีความสุขเพิ่มขึ้น

ริชาร์ดเล่าว่า จากการที่เขาได้ศึกษาความทุกข์ของคนที่เกิดจากการตกงาน,การหย่าร้าง,การได้รับบาดเจ็บสาหัส และเหตุการณ์ทุกข์ใจต่างๆ พบว่าเงินทองไม่สามารถบรรเทาความทุกข์เหล่านั้นได้ เหมือนกับทฤษฎีที่มีนักจิตวิทยาหลายคนตั้งข้อสมมติฐานไว้

ในโอกาสเดียวกัน ริชาร์ดยังว่า "คนจำนวนมากหลงเข้าใจผิดคิดว่า ยิ่งมีเงินมาก จะยิ่งมีความสุขมากขึ้น ทำให้เราพยายามทุ่มเททุกอย่างเพื่อหาเงินมาใช้จ่ายในครอบครัว เพื่อดูแลสุขภาพ แต่ปัญหาก็คือ เราลืมคิดไปว่าความต้องการทางวัตถุของเรามันมากขึ้นเป็นเงาตามตัวตามเงินที่เราหามาได้"

ท้ายสุด ริชาร์ดได้ย้ำถึงที่มาของความสุขว่า "เกิดจากการที่เราได้ใช้ช่วงเวลาอย่างมีคุณภาพกับคนที่เรารัก และมาจากสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง"

สำหรับบุคคลที่มีความสุขนั้น มักมีแนวโน้มเป็นคนมองโลกในแง่ดี, เป็นมิตร, สามารถควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้ มีความเชื่อในศีลธรรมและนับถือตัวเอง

คำพูดที่น่าคิด


ดีไม่ดี...อยู่ที่ใจเรา หัวเราะ...เมื่ออยากหัวเราะ ร้องไห้...เมื่ออยากร้องไห้ และต้องหัวเราะให้ได้หลังร้องไห้ทุกครั้ง! อย่าทำอะไรที่ไม่อยากทำ... จงทำอะไรที่ใจอยากทำ...!
ตัวหนังสือ...เขียนผิด...ลบได้ การกระทำ...ทำผิด...เอาอะไรลบ
นึกว่าหมากำลังไล่ฟัดซิ...! ...จะได้รีบวิ่งรี่เข้าเส้นชัย... ...ล้มเมื่อไหร่จะได้รีบลุก...
ทุกย่างก้าว ของ ความฝัน คือ ย่างก้าว ของ ความเหน็ดเหนื่อย ทุกย่างก้าว ของ ความเหน็ดเหนื่อย คือ ก้าวย่าง ของ ความสำเร็จ
ต่อให้ทุกข์ที่สุด....ก็ต้องผ่านพ้นไปจนได้ เมื่อเรานั่งมองอดีต เรายังผ่านทุกข์มาได้ตั้งหลายทุกข์ ก็ในเมื่อ..ชีวิต...มันยังมีชีวิต ขอแค่อย่าทุกข์ก่อนเจอทุกข์ หลังทุกข์ อย่าทุกข์อีก ให้ทุกข์ แค่ตอนทุกข์ แล้วทุกข์ที่สุด...ก็จะเป็น ทุกข์ แค่นี้เอง!
ให้ทำหน้าที่ทุกหน้าที่ด้วยหัวใจ ให้หัวใจตระหนักในหน้าที่.... แล้วเราจะไม่รู้สึกว่าหน้าที่เป็นหน้าที่ แต่เป็นการกระทำที่เกิดจาก...หัวใจเรียกร้อง...ต่างหาก
ดีไม่ดี...อยู่ที่ใจเรา... ถ้าใจเรา...คิดดี เราก็จะเจอแต่สิ่งดีๆ ถ้าเรามองในทางที่ดี...ใจเราก็จะรู้สึกดี ถ้ากำลังใจดี...สิ่งเลวร้าย...ก็จะคลี่คลายเป็น...ดี!

วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2551

การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

1. การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีหลักการ คือ ให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมมีบทบาทในการเป็นผู้เรียนรู้มากที่สุด พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้ระบุให้การปฏิรูปการเรียนรู้เป็นหัวใจสำคัญของการปฏิรูปการศึกษา และได้ระบุสาระที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญไว้ 3 ประเด็น คือ ด้านหลักสูตรให้มีความต่อเนื่องเชื่อมโยงกับการดำรงชีวิต ด้านกระบวนการเรียนรู้เน้นความสอดคล้องกับความถนัดและสนใจของผู้เรียนและเน้นการพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ และด้านการวัด และประเมินผลตรงตามสภาพความจริง

2. องค์ประกอบที่บ่งชี้สภาพการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในระดับการเรียนการสอน พิจารณาตามองค์ประกอบหลักของ CIPPA – Model คือ ผู้เรียนได้สร้างความรู้ ได้ปฏิสัมพันธ์กับบุคคลหรือสื่อ ได้ใช้กระบวนการในการสร้างความรู้ด้วยความกระตือรือร้นทางกาย และมีโอกาสได้นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ และดูตามสภาพการบริหารจัดการโรงเรียน ต้องมีลักษณะพัฒนาทั้งระบบโรงเรียน

3. เทคนิคที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีหลายอย่าง ได้แก่ การใช้เทคนิคการเรียนแผนโครงสร้างความรู้ให้ผู้เรียนจัดระบบ และแสดงสิ่งที่เรียนรู้ออกมาเป็นภาพที่ครูสามารถตรวจสอบได้ การใช้เทคนิควิธีการให้ผู้เรียน เรียนแบบร่วมมือกัน ซึ่งจัดได้หลายแบบ ใช้เทคนิคการตั้งคำถามอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อกระตุ้นความคิด การใช้เทคนิคการเรียนด้วยโครงงาน และการบูรณาการการเรียนรู้เนื้อหาต่างๆเข้าด้วยกัน

4. การประเมินผลตามสภาพจริง เน้นการประเมินผลการเรียนรู้รอบด้านของผู้เรียน จะใช้วิธีการที่หลากหลายเพื่อประเมินให้ได้ครบทุกความสามารถของผู้เรียนอันเป็นผลมาจากการเรียนรู้ วิธีการประเมินทำได้หลายอย่าง ได้แก่ การใช้การสังเกต การสัมภาษณ์ และตรวจเก็บแฟ้มสะสมงานของผู้เรียน

5. ในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูมีบทบาทสำคัญ 2 ประการ คือ เป็นผู้จัดการและอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ของผู้เรียน ครูจะต้องเป็นผู้วางแผน และจัดเตรียมสื่อ/ประสบการณ์ที่จะกระตุ้นให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ และในขณะดำเนินการจัดการเรียนการสอน ครูต้องเป็นผู้จัดการเรียนรู้ควบคุมสถานการณ์ให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ตรงตามเป้าหมาย

หลักสูตรใหม่ : ประเมินผลอย่างไร ?

หลักสูตรใหม่ : ประเมินผลอย่างไร ? ดร.บุญชู ชลัษเฐียร รอบปีการศึกษาใหม่เริ่มวงจรขึ้นในราวกลางเดือนพฤษภาคมของทุก ๆ ปี แต่ทว่าปีการศึกษา ๒๕๔๖ นี้ บรรยากาศของการเริ่มปีการศึกษาที่ผ่านๆ มา ความกระตือรือร้น ของสถานศึกษา ของครู ของบุคลากรทางการ ศึกษา ในการเตรียมงานทำงานเห็นได้อย่างชัดเจน รวมทั้งเห็นความสนใจใฝ่รู้ของผู้ปกครอง ของนักเรียนในสิ่ง ที่จะเรียนและ แนวทางการเรียน เช่นกัน เกิดอะไรขึ้นหรือ...........คำตอบคือปรากฏการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นเนื่องจาก ปีการศึกษา ๒๕๔๖ เป็นปีที่มีการกำหนดให้ใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔ หรือเรียก อย่างง่ายๆว่า "หลักสูตรใหม่" ในชั้นประถมศึกษาปีที่๑ ปีที่๔ และ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ปีที่ ๔ หลักสูตรใหม่ ดังกล่าวนี้ได้ก่อให้เกิดปัจจัย บริบท และกระบวนการในการจัดการเรียนรู้ที่มีรูปร่างหน้าตาผิดแผกแตกต่างไป จากกระบวนการจัดการหลักสูตรเดิม อาทิ หลักสูตรอิงมาตราฐาน หรือสถานศึกษาต้องพัฒนาหลักสูตร สถานศึกษาของตน เพื่อใช้ในการจัดการเรียนรู้ การประเมินผล ต้องเป็นไปตามมาตรฐานการเรียนรู้ เป็นต้น ประเด็นที่อยู่ในความสนใจของผู้ที่เกี่ยวข้องประการหนึ่งที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า หลักสูตรอิงมาตรฐาน เป็นอย่างไร จะพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาอย่างไร คือ จะวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ตามหลักสูตร การศึกษาขั้นพื้นฐานได้อย่างไร จะปฏิบัติอย่างไรจึงขอถือโอกาศนี้นำเสนอ และฉายภาพข้อมูล การวัด และ ประเมินผล การเรียน ตามหลักสูตรใหม่ดังต่อไปนี้ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานมัลักษณะเช่นไร การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรใหม่ ยึดหลักการกระจายอำนาจให้โรงเรียน/สถานศึกษา เช่น เดียวกับหลักสูตรเดิม แต่แตกต่างกันตรงที่ หลักสูตรใหม่สถานศึกษา จำต้องกำหนด ระเบียบ/แนว ปฏิบัติเพื่อการวัดและประเมินของตนเอง โดยอาศัย "หลักการ/ข้อกำหนดสำคัญบางประการ" ที่ส่วนกลางกำหนดให้ เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ แต่ทั้งนี้ไม่มีการออกระเบียบการวัดและ ประเมินผลโดยตรงไปจากส่วนกลาง (กระทรวงศึกษาธิการ) เพื่อให้โรงเรียน/สถานศึกษาใช้ มาตรฐาน การเรียนรู้ที่กำหนด ในหลักสูตร แต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้เป็นทั้งเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนและเป็นหลัก เทียบเคียงเพื่อการประเมิน ในส่วนนี้แหละที่เป็นความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนกับการประเมิน ตามหลักสูตร เดิม นอกจากนี้ การประเมินตามหลักสูตรใหม่ มุ่งเน้นการปรับปรุงพัฒนาผู้เรียนให้มีความก้าวหน้าในการเรียนรู้ เป็นประเด็นหลักและยังมุ่งให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มตามศักยภาพรวมทั้งยังกำหนดให้มีการเทียบโอนผลการเรียน ในระหว่างระบบการจัดการศึกษาต่างๆ (การศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ตามมาตรา ๑๕ แห่ง พระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ) เพื่อเปิดโอกาศทางการศึกษาให้แก่ผู้เรียน

การอบรมเชิงปฎิบัติการการวัดผลประเมินผล




การวัดผลประเมินผลตามสภาพจริง
การวัดผลประเมินผลตามสภาพจริงจะใช้ในการวัดความสามารถหรือทักษะในการปฏิบัติงาน และ/หรือ การผลิตผลงาน/ชิ้นงานโดยใช้วิธีการที่หลากหลาย เช่น การสังเกต การบันทึก การทดลอง และการรวบรวมข้อมูลจากผลงานหรือชิ้นงานที่ผู้เรียนลงมือปฏิบัติจริงการวัดผลประเมินผลตามสภาพจริงจะช่วยพัฒนาและส่งเสริมสมรรถภาพของผู้เรียนที่ครอบคลุมทั้งด้านความรู้ ทักษะกระบวนการ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ซึ่งสามารถทำได้โดยใช้เครื่องมือที่หลากหลาย ได้แก่* ภาระงานที่ได้รับมอบหมาย เช่น แบบฝึกหัด การศึกษาค้นคว้าและจัดทำรายงานการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
* แฟ้มสะสมงาน
* โครงงาน
* การปฏิบัติกิจกรรมระหว่างเรียน เป็นต้นเกณฑ์การประเมินผลการเรียนรู้เกณฑ์การประเมินผลแบบรวม เป็นเกณฑ์ที่ใช้ประเมินผลการปฏิบัติงานหรือชิ้นงานในภาพรวมเกณฑ์การประเมินผลแบบวิเคราะห์ เป็นเกณฑ์ที่ใช้ประเมินผลการปฏิบัติงานหรือชิ้นงานที่แยกประเมินเป็นรายองค์ประกอบย่อยการประเมินผลการปฏิบัติงานหรือชิ้นงานแต่ละครั้งอาจใช้เกณฑ์แบบรวมหรือแบบวิเคราะห์หรือแบบตรวจสอบรายการ ตามความเหมาะสมแล้วแต่กรณี

ภาพกิจกรรมการอบรมการวัดผลประเมินผล